
โรงเรียนที่ 1 โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม
ชื่อผลงาน : ถั่วเน่า
โรงเรียนที่ 2 โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม
ชื่อผลงาน : ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา
โรงเรียนที่ 3 โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม
ชื่อผลงาน : ลูกประคบสมุนไพร
โรงเรียนที่ 4 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
ชื่อผลงาน : ถิ่นภูมิปัญญา สิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ
โรงเรียนที่ 5 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
ชื่อผลงาน : ลูกประคบสมุนไพร
โรงเรียนที่ 6 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
ชื่อผลงาน : ตะลุงวิถีชาวตรัง
โรงเรียนที่ 7 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม
ชื่อผลงาน : ไม้กวาดดอกหญ้าของดีเวียงป่าเป้า
โรงเรียนที่ 8 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
ชื่อผลงาน : เมี่ยงเชียงราย
โรงเรียนที่ 9 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า
ชื่อผลงาน : แร้วล่ามวัว ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนที่ 10 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา
ชื่อผลงาน : การย้อมผ้าแบบชิโบริ

การแข่งขันภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย(ป.4 –ป.6) และ มัธยมศึกษาตอนต้น(ม.1 –ม.3)
กิจกรรมจัดในวันที่ 17 สิงหาคม 2566
ระดับมัธยมศึกษา (ม.1 – ม.6) (ในรูปแบบ Online)
รอบที่ 1 คัดเลือก 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ ประกาศผลวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ผ่านช่องทาง https://science.crru.ac.th/ และ https://www.facebook.com/Science.Crru
รอบที่ 2 ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีม เข้ารับการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์โดยกรรมการผู้จัดกิจกรรม
ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566
(รายละเอียดการเข้ารับการสัมภาษณ์จะแจ้งพร้อมกับการประกาศผลการคัดเลือก)
การประกาศผลการตัดสินจะประกาศผ่านช่องทาง
https://science.crru.ac.th/ และ https://www.facebook.com/Science.Crru
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566
1. หัวข้อโครงงาน : “การแข่งขันภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ที่มา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย มักมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ/หรือเทคโนโลยีสอดแทรกอยู่เสมอ โดยบรรพบุรุษแต่เดิมย่อมมีความรู้เหล่านี้แล้วจึงสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ยาวนานผ่านไป ทำให้คนรุ่นหลังอาจละเลยที่จะทำความเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล จนกระทั่งสุดท้ายจึงใช้วิธีจดจำกระบวนการสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น โดยเหตุผลที่เกี่ยวข้องนั้นได้ตกหล่นหายไปในกาลเวลา จนหลงเหลือเป็นเพียงการเคารพบูชาเพื่อเพียงพิธีกรรมประเพณีปฏิบัติ การจัดประกวดนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการกระตุ้นความคิดของผู้คนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่แทรกอยู่ในภูมิปัญญาเหล่านั้น
2. จุดประสงค์
1. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา มองเห็นกระบวนการและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. คุณสมบัติผู้สมัคร
เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ทีมละไม่เกิน 3 คน และมีคุณครูผู้ควบคุม 1 ท่าน
4. เกณฑ์การส่งผลงาน
1. คลิปวิดีโอ ต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280×720) ที่มีสัดส่วนวิดีโอ 16:9 เป็นไฟล์ประเภท “ .mp4 ” ความยาวไม่เกิน 3 นาที
2. กำหนดประเด็นภายใต้หัวข้อ ดังนี้
– ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมอธิบายความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญานั้นๆ
– แนวคิดในการต่อยอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญานั้นๆ ในการนำไปใช้ประโยชน์ หรือประยุกต์ใช้ในรูปแบบอื่น
3. ส่งผลงานผ่านช่องทาง E-mail : sciserve@crru.ac.th
4. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด เป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูลได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วย ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ทางผู้จัดโครงการฯไม่มีส่วนในการรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้ามีการตรวจสอบพบภายหลังจะถือเป็นโมฆะและถูกเรียกรางวัลคืน
5. ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยนำไปใช้ในการประกวดแข่งขัน หรือเผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อน
6. แต่ละโรงเรียนสามารถส่งได้มากกว่า 1 ผลงาน
7. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดอณุญาตให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำคลิปวิดีโอไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม
5. กติกาและเงื่อนไข
เปิดรับคลิปวีดีโอเพื่อเข้ารับการคัดเลือก ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 เวลา 23:59 น. โดยส่งที่ E-mail : sciserve@crru.ac.th โดยรายละเอียดของคลิปวิดีโอต้องมีองค์ประกอบดังนี้
– ความละเอียดไม่ต่ำกว่า HD (1280×720)
– เป็นไฟล์ประเภท.mp4
– มีสัดส่วนวิดีโอ 16:9
– ระยะเวลาการนำเสนอไม่เกิน 3 นาที
– ในคลิปต้องมีช่วงเวลาที่มีการปรากฏตัวของสมาชิกผู้ร่วมแข่งขันทุกคนในทีม
– หน้าสุดท้ายของคลิป ระบุบทบาท หน้าที่การมีส่วนร่วมของสมาชิกแต่ละคน อาจรวมถึง
กิตติกรรมประกาศต่าง ๆ ที่ทีมประสงค์ให้ปรากฏ
6. การประกาศผล
รอบที่ 1 คัดเลือก 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ ประกาศผลวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ผ่านช่องทาง https://science.crru.ac.th/ และ https://www.facebook.com/Science.Crru
รอบที่ 2 ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีม เข้ารับการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์โดยกรรมการผู้จัดกิจกรรม ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (รายละเอียดการเข้ารับการสัมภาษณ์จะแจ้งพร้อมกับการประกาศผลการคัดเลือก)
การประกาศผลการตัดสินจะประกาศผ่านช่องทาง https://science.crru.ac.th/ และ https://www.facebook.com/Science.Crru ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566
7. เกณฑ์การตัดสิน
1. การตัดสินเพื่อผ่านการคัดเลือกจะยึดตามเงื่อนไขของคลิปวีดีโอ ดังที่แจ้งไว้ในหัวข้อที่ 4
2. การตัดสินรางวัล “ปั๋นกันผ่อ” นับจำนวนการแชร์คลิปวิดีโอ ของผู้เข้าชมผลงานจากเว็บไซต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นับ 1 คน 1 share) ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566
3. การตัดสินผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศ จะพิจารณาจากผลการสัมภาษณ์ และให้ยึดเอามติของคณะกรรมการผู้จัดกิจกรรมถือเป็นที่สิ้นสุด
8. รางวัล
โครงงานที่ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัล ปั๋นกันผ่อ เงินรางวัล 1,300 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– สมาชิกทุกของของทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 ทีม จะได้รับประกาศนียบัตรแสดงถึงคุณภาพของงานที่ผ่านการคัดเลือก
9. การมอบรางวัล
ประกาศผลการแข่งขันบนเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (เงินรางวัลและเกียรติบัตร ทางคณะฯจะทำการติดต่อกลับทางโรงเรียนที่เกี่ยวข้องหลังจากกิจกรรมการแข่งขันเสร็จสิ้นในวันเดียวกัน เพื่อให้ทางโรงเรียนเตรียมสำเนาบัตรประชาชนของครูผู้ควบคุม เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการรับเงินรางวัลต่อไป)
หมายเหตุ : ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมแข่งขัน โดยอ้างอิงจากการกรอกข้อมูลสมัคร เข้าร่วมแข่งขันในระบบ จึงขอความกรุณาตรวจสอบตัวสะกดของ ชื่อ – สกุล และโรงเรียน ให้ถูกต้องก่อนกดส่ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการออกเกียรติบัตร ** งดการขอแก้ไขเกียรติบัตรทุกกรณี **