1. การแข่งขัน 180IQ รับสมัครนักเรียนทุกระดับชั้น (ไม่จำกัดอายุ)
2. หนึ่งโรงเรียนสามารถส่งผู้เข้าร่วมแข่งขันได้เพียง 2 ทีม ทีมละ 2 คน (1 ทีม ต่อ 1 ใบสมัคร)
3. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
3.1) เป็นนักเรียนทุกระดับชั้น (ไม่จำกัดอายุ)
3.2) มีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าระบบ MS TEAMS (มีกล้อง ไมโครโฟน และลำโพง) และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ในระหว่างการแข่งขัน
3.3) สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน Online ได้ใน วันพฤหัสบดี ที่ 17 และ วันศุกร์ ที่ 18 สิงหาคม 2566
4. รูปแบบการแข่งขัน
เป็นการแข่งขันให้นักเรียนสร้างสมการโดยใช้เลขโดดที่เกิดจากการสุ่ม 5 ตัวเลข ผ่านการดำเนินการต่อไปนี้ คือ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง หรือถอดรากที่สอง (ไม่สามารถใช้การดำเนินการอื่นได้)
5. การส่งผู้เข้าแข่งขัน
5.1) รับสมัครผู้เข้าแข่งขัน ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
5.2) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน 13 สิงหาคม 2566
5.3) แข่งขันรอบคัดเลือก (Online) 17 สิงหาคม 2566 (เวลาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)
5.4) แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Online) 18 สิงหาคม 2656 (เวลาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)
6. หลักเกณฑ์และกติกาการแข่งขัน
เป็นการแข่งขันให้นักเรียนสร้างสมการโดยใช้เลขโดดที่เกิดจากการสุ่ม 5 ตัวเลข ผ่านการดำเนินการต่อไปนี้ (ไม่สามารถใช้การดำเนินการอื่นได้)
บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง หรือถอดรากที่สอง
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยจะแบ่งการแข่งขันเป็นสองรอบ ได้แก่
6.1) รอบคัดเลือก (ทำการแข่งขันในวันพฤหัสบดี ที่ 17 สิงหาคม 2566)
โจทย์การแข่งขันในรอบนี้จะมีผลลัพธ์เป็นเลข 2 หลัก มีการแข่งขันทั้งหมด 8 ข้อ โดยให้นักเรียนดูโจทย์ผ่าน MS TEAMS นักเรียนที่ตอบได้ให้กดยกมือในระบบ พิธีกรจะให้นักเรียนที่ยกมือเปิดไมค์อธิบายคำตอบของตนเองตามลำดับการยกมือ ทีมที่สามารถตอบได้เป็นทีมแรกในแต่ละข้อจะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
หากเวลาผ่านไป 90 วินาทียังไม่มีทีมที่ตอบได้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนพิมพ์คำตอบที่ใกล้เคียงผ่าน chat ในระยะเวลา 30 วินาที ทีมที่ได้คำตอบใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุดจะได้เป็นผู้ตอบ (กรณีที่คำตอบห่างจากผลลัพธ์เท่ากันจะพิจารณาจากลำดับการส่งคำตอบ)
แต่ละทีมมีสิทธิ์ตอบคำถามในรอบนี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าอธิบายคำตอบได้ถูกต้องจะผ่านเข้าสู่ รอบชิงชนะเลิศทันที แต่หากอธิบายผิดจะไม่มีสิทธิ์ตอบในข้ออื่น ๆ
6.2) รอบชิงชนะเลิศ (ทำการแข่งขันในวันศุกร์ ที่ 18 สิงหาคม 2566)
ในรอบนี้จะทำการแข่งขันเฉพาะทีมที่สามารถตอบคำถามในรอบคัดเลือกได้เป็นทีมแรก (มีทั้งหมด 8 ทีม) ซึ่งทำการแข่งขันโดยใช้กติกาเช่นเดียวกับรอบคัดเลือก แต่จะทำการแข่งขันแบบสะสมคะแนน (แต่ละทีมมีสิทธิ์ยกมือขอตอบได้ทุกข้อ) โดยแบ่งความยากของโจทย์เป็น 2 ระดับ ดังนี้
ข้อ 1 – 4 ผลลัพธ์เป็นเลข 2 หลัก ผู้ตอบถูกเป็นทีมแรกจะได้รับ 2 คะแนน
ข้อ 5 – 8 ผลลัพธ์เป็นเลข 3 หลัก ผู้ตอบถูกเป็นทีมแรกจะได้รับ 4 คะแนน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ตอบถูกในเวลา 90 วินาที จะให้สิทธิ์ผู้ที่คำนวณได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้เฉลยก่อน ทีมที่อธิบายถูกในกรณีนี้ จะได้รับคะแนนน้อยกว่าคะแนนเต็มไป 1 คะแนน
เมื่อจบการแข่งขันทั้ง 8 ข้อแล้ว หากยังไม่สามารถตัดสินทีมที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ได้ จะมีการแข่งขันเพิ่มเติมเฉพาะทีมที่ได้คะแนนเท่ากันเท่านั้น
หมายเหตุ
1) เลขโดดและผลลัพธ์ทุกข้อจะถูกสุ่มโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำการแข่งขัน ดังนั้นจะไม่มีใครทราบเลขดังกล่าวก่อนล่วงหน้า (แม้แต่คณะกรรมการจัดการแข่งขัน)
2) ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจะต้องเปิดกล้องให้เห็นหน้าและท่าทางตลอดทำการแข่งขันผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเป็นคนเดียวกันกับผู้สมัครโดยคณะกรรมการจะนัดตรวจสอบตัวตนผู้สมัครกับบัตรประจำตัวนักเรียนที่แนบมากับในสมัครก่อนดำเนินการแข่งขัน
7. รางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน
รางวัลที่ 1 ทุนการศึกษา 1,500 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา 800 บาท พร้อมเกียรติบัตร
*** เงินรางวัล และเกียรติบัตรรางวัล สามารถติดต่อขอรับได้ ณ สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ฯ หลังการประกาศผลการแข่งขัน โดยให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชนของครูผู้ควบคุมมาด้วยตามจำนวน ที่ส่งการแข่งขัน เพื่อประกอบการรับเงินรางวัล ***
หมายเหตุ : ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมแข่งขัน โดยอ้างอิงจากการกรอกข้อมูลสมัคร เข้าร่วมแข่งขันในระบบ จึงขอความกรุณาตรวจสอบตัวสะกดของ ชื่อ – สกุล และโรงเรียน ให้ถูกต้องก่อนกดส่ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการออกเกียรติบัตร ** งดการขอแก้ไขเกียรติบัตรทุกกรณี **
หมายเหตุ สามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
1. รับสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ผ่านเว็บไซต์ http://science.crru.ac.th/menusciday เท่านั้น
2. ไม่มีการรับสมัครแข่งขันหน้างานไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น